ภาพหน้าปก

ภาพหน้าปก

วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2558

คืนสู่เหย้าวิศวกรรมไฟฟ้า มทส. ครั้งที่ 9

21.11.2015


อย่าลืมลงทะเบียนกันนะครับ

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2558


พี่ น้อง และพ้องเพื่อน ความผูกพันธ์มิเคยลืม
แล้วเจอกันคืนสู่เหย้าวิศวกรรมไฟฟ้า มทส. ครั้งที่ 9

อย่าลืม!!! ลงทะเบียน กันนะครับ 



วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ลงทะเบียน เข้าร่วมงานคืนสู่เหย้าวิศวกรรมไฟฟ้า มทส. ครั้งที่ 9 มาแล้วจร้า

งานคืนสู่เหย้าวิศวกรรมไฟฟ้า มทส. ครั้งที่ 9 

EE-REUNION #9
จัดงานวันเสาร์ ที่ 21 พฤศจิกายน 2558
เวลา 10.00 EE-Meeting ขอเชิญรุ่นพี่ร่วมแลกเปลี่ยนประสบบการณ์การทำงานกับน้องๆ
เวลา 14.00 EE-Sport ร่วมแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน-พี่-น้อง

เวลา 18.00 EE-Party งานเลี้ยงรำลึกความหลัง ศิษย์เก่าวิศวกรรมไฟฟ้า มทส. พบกับกิจกรรมอื่นๆ
ภายในงานอีกมากมาย


ค่าเข้าร่วมงานคนละ 300 บาท ผู้ติดตาม >> ผู้ใหญ่ 250 บาท , เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี ฟรี!!!
ค่าเสื้อคืนสู่เหย้าตัวละ 300 บาท สั่ง 2 ตัว ลดราคาเหลือ 550 บาท


ตัวอย่างแบบเสื้อคืนสู่เหย้าวิศวกรรมไฟฟ้า มทส. ครั้งที่ 9



วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ผลโหวตเสื้อคืนสู่เหย้าวิศวกรรมไฟฟ้าครั้งที่ 9


ผลโหวตเสื้อคืนสู่เหย้าวิศวกรรมไฟฟ้าครั้งที่ 9 ออกมาแล้วนะครับ
ได้แก่ผลงานการออกแบบของน้องปวีณ เวชเฟือง ไฟฟ้ารุ่น 20
สามารถติดตามแบบที่ตัดเย็บแล้วได้เร้วๆนี้นะครับ
เปิดลงทะเบียน และสั่งจองเสื้อเดือนกรกฎาคม นะครับ
เจอกันคืนสู่เหย้าวิศวกรรมไฟฟ้าครั้งที่ 9 ในวันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายนนี้ นะครับ

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เลือกวันจัดงานคืนสู่เหย้า

ประกาศถึงศิษย์เก่าวิศวกรรมไฟฟ้า มทส ทุกท่าน
ให้เข้าไปโหวตวันจัดงานคืนสู่เหย้าวิศวกรรมไฟฟ้าครั้งที่ 9
ในกลุ่ม Facebook : EESUT-ALUMNI
ปิดโหวตวันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน นี้ นะครับ

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

‘รถบัสไฟฟ้าไร้มลพิษ’ ฝีมือคนไทย


‘รถบัสไฟฟ้าไร้มลพิษ’ ฝีมือคนไทย นวัตกรรมที่รอการส่งเสริม | เดลินิวส์
„‘รถบัสไฟฟ้าไร้มลพิษ’ ฝีมือคนไทย นวัตกรรมที่รอการส่งเสริม รถยนต์พลังงานสะอาดถือเป็นประเด็นที่หลายประเทศทั่วโลกให้ความสนใจ ถ้ามองในภาพรวมรถยนต์ไฟฟ้าดูเหมือนได้รับการตอบรับและใช้งานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มองกลับมายังประเทศไทย

รถยนต์พลังงานสะอาดถือเป็นประเด็นที่หลายประเทศทั่วโลกให้ความสนใจ ถ้ามองในภาพรวมรถยนต์ไฟฟ้าดูเหมือนได้รับการตอบรับและใช้งานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มองกลับมายังประเทศไทย การส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าแผนงานมักถูกจัดเก็บไว้ในลิ้นชัก ด้วยปัญหาผู้ผลิตและปัจจัยการส่งเสริมของรัฐ แต่มีความพยายามในการที่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ให้ทุนแก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ศึกษาวิจัยรถบัสโดยสารที่ใช้ระบบไฟฟ้าแทนเชื้อเพลิง ซึ่งเกือบทั้งหมดผลิตโดยสมองของคนไทย  

สุชาติ พันธุ์ไพศาล ตัวแทนกลุ่มนักวิจัย ซึ่งเป็นนักศึกษาปริญญาเอก คณะวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เล่าว่า แนวความคิดตอนแรกคือ การสร้างรถที่วิ่งจากกรุงเทพฯ มาโคราช รถคันนี้เลยออกแบบให้วิ่งได้ 100–125 กิโลเมตร ระหว่างทางต้องมีสถานีชาร์จที่สระบุรีหรือที่ปากช่องเผื่อให้การเดินทางถึงที่โคราช ซึ่งระบบการชาร์จใช้กำลังไฟ 650 โวลต์  

ทั่วไปกำลังไฟที่ใช้ในการผลิตรถไฟฟ้าในยุโรปใช้กำลังไฟ 650 โวลต์ แต่ที่เอเชียใช้กำลังไฟ 364 โวลต์ ความแตกต่างคือ เมื่อกำลังไฟสูงจะทำให้กินกระแสไฟต่ำ และมีข้อดีในเรื่องความปลอดภัย แต่ถ้าใช้ 364 โวลต์ จะกินกระแสไฟสูงทำให้เกิดความเสี่ยงในการระเบิดของอุปกรณ์ ที่สำคัญถ้ายิ่งใช้กระแสไฟต่ำต้องใช้สายไฟในการชาร์จที่ใหญ่ขึ้น  

"แนวความคิดที่ออกแบบรถบัสไฟฟ้านี้ขึ้นเพื่อให้ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเห็นถึงการใช้รถไฟฟ้าที่เดินทางระหว่างเมืองได้ ไม่ใช่แค่เดินทางได้ 40 กิโลเมตรแล้วจบอย่างที่หลายประเทศทำ และข้อดีอย่างหนึ่งของรถที่เราทำสามารถถอดเปลี่ยนแบตเตอรี่สำรองได้ทันทีหากแบตหมด โดยแบตลูกหนึ่งหนัก 10 กิโลกรัม แบตเตอรี่ที่เราใช้จะเป็นแบบลิเทียม ข้อดีคือสามารถใช้ได้หลายปี และไม่มีมลพิษตลอดจนไม่มีผลกระทบ โดยเบื้องต้นมีการไปค้นหาผู้ที่ผลิตแบตเตอรี่ที่จะนำมาใช้จากประเทศจีน 4-5 ราย ก่อนตกลงซื้อแบตเตอรี่กับผู้ประกอบการรายนี้"

 แบตเตอรี่ลิเทียมมีอายุการใช้งาน 10 ปี หลังจากนั้นผู้ที่ผลิตแบตจากเมืองจีนมีแนวคิดที่จะซื้อแบตกลับไป เพื่อนำไปใช้อย่างอื่นต่อ เบื้องต้นตอนนี้เรามีการสั่งซื้อแค่ไม่กี่ตัว แต่ถ้าอนาคตมีการสั่งซื้อมากขึ้นผู้ผลิตแบตเตอรี่จากจีนจะมีระบบการซื้อคืน ขณะเดียวกันในอนาคตแบตเตอรี่ประเภทนี้จะได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะคนเริ่มหันมาสนใจรถที่ใช้ไฟฟ้า แน่นอนว่าแบตเตอรี่ประเภทนี้จะมีราคาที่ถูกลง 

ส่วนตัวโครงสร้างของรถบัสเน้นให้ตัวถังมีน้ำหนักเบา ซึ่งในโครงสร้างด้านวิศวกรรมจะเน้นให้มีความแข็งแกร่งเท่าเดิม และเพิ่มความแข็งแกร่งในบางจุดที่เป็นจุดเสี่ยงที่จะได้รับแรงกระแทกจากอุบัติเหตุ รถบัสที่ออกแบบมาคันนี้ไม่มีแหนบ แต่จะใช้ระบบถุงลม โดยมอเตอร์ที่ส่งกำลังจะอยู่บนล้อ ซึ่งโดยปกติรถที่ใช้มอเตอร์จะส่งผ่านกำลังมายังเพลาเพื่อให้หมุนล้อ ซึ่งข้อดีของการออกแบบครั้งนี้กำลังสูญเสียในการหมุนล้อจะมีน้อย   

ตัวถุงลมเป็นมาตรฐานจากเยอรมนี การออกแบบครั้งนี้เจ้าหน้าที่จากเยอรมนีจะมาประเมินการออกแบบว่าผ่านตามมาตรฐานของเขาหรือไม่ ซึ่งในประเทศของเขาระบบถุงลมในการรับน้ำหนักถือเป็นมาตรฐานการออกแบบ ที่มีการกำหนดว่าถุงลมที่ติดตั้งจะรับน้ำหนักได้กี่ตัน ข้อดีอีกอย่างของระบบถุงลม คือ เวลาจอดเพื่อรับผู้โดยสารที่ใช้วีลแชร์รถจะสามารถเอียงซ้ายเอียงขวาได้ เพื่อรองรับคนพิการที่จะเข็นรถขึ้นได้ง่าย  

เรื่องระบบการควบคุมการสั่งการของรถทางทีมวิจัยได้ออกแบบกันเอง จุดเด่นของรถคันนี้จะเน้นให้มีกำลังขับเคลื่อนสูญเสียน้อยที่สุด แต่ที่ยังเป็นจุดอ่อนคือ โครงสร้างของรถที่ยังเป็นพื้นต่ำ ที่แม้จะมีการบอกว่าประเทศไทยถนนส่วนใหญ่รองรับรถที่ยังไม่มีการยกพื้นสูงได้ แต่หลายคนยังกลัวอยู่เมื่อตกหลุมจะมีความกระด้างไม่เหมือนรถที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่เรื่องนี้ทีมวิจัยพยายามแก้โดยระบบถุงลม ซึ่งข้อดีของมอเตอร์อีกอย่างอยู่ที่ ถ้าหากเกิดน้ำท่วมมอเตอร์ที่ออกแบบมาจะสามารถวิ่งในน้ำได้  

ส่วนระบบความปลอดภัยของไฟฟ้าที่ใช้กำลังสูง ถ้าหากเกิดเหตุรถชนหรือมีไฟรั่วมีการออกแบบระบบไม่ให้กระแสไฟลงไปยังตัวถัง เช่น ถ้ารถถูกชนระบบเซ็นเซอร์จะตัดกระแสไฟทันที เหมือนระบบการตัดไฟตามบ้านเรือนทั่วไป ถ้าหากมีการไหลรั่วของไฟจะมีรายงานมายังหน้าปัดคนขับและทำการตัดไฟทันที  

“อนาคตเครื่องชาร์จเราไม่น่าเป็นห่วงเท่าไหร่ เพราะการชาร์จครั้งหนึ่งใช้เวลา 2 ชั่วโมงครึ่ง ถ้าวันหนึ่งเราบริหารจัดการกันดี ๆ ว่าเวลานี้ให้รถคันนี้หรือเบอร์นี้เข้าไปชาร์จ โดยแบ่งเวลากันเข้าไปชาร์จไม่ใช่ไปชาร์จพร้อมกันในเวลาเดียว แต่ที่สำคัญด้วยความที่เรามีแบตเตอรี่สำรองไว้อยู่แล้วในแต่ละคัน หากฉุกเฉินจริง ๆ สามารถถอดเปลี่ยนได้เลย โดยใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที ซึ่งถ้าใครกลัวว่ารถจะไม่ติดสามารถเปลี่ยนแบตสำรองได้” 

ในส่วนของสภาพอากาศที่มีผลต่อแบตเตอรี่ มีการออกแบบให้มีพัดลมเป่าไปยังแบตเตอรี่ ความร้อนของแบตเตอรี่ที่เคยวัดได้ 30 องศา ใช้ระยะทางการวิ่ง 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยความร้อนของแบตจะมีระดับความร้อนที่ส่งเตือนมายังแผงควบคุมระบบการเตือน ถ้าความร้อนไปถึง 40 องศาจะเตือนว่า ความร้อนเข้าสู่ระดับ 1 แต่ถ้าความร้อน 60 องศาจะเตือนว่าอยู่ที่ระดับ 2 รถจะเคลื่อนที่ได้อีก 30 นาที คนขับต้องหาที่จอดเพื่อพักความร้อนของแบตเตอรี่ ความร้อนจะขึ้นอยู่กับความเร็วในการวิ่ง แต่การทดลองที่ผ่านมายังไม่มีการเตือนเหล่านี้  

ต้นทุนของรถบัสไฟฟ้า เนื่องจากมันเป็นคันแรกเลยค่อนข้างแพง ตอนนี้ตกอยู่ที่ 10 ล้านบาทขึ้นไป แต่ถ้าพูดถึงความคุ้มค่าในระยะยาวของพลังงานย่อมคุ้มค่ากว่า สำหรับอนาคตถ้ามีการผลิตรถบัสไฟฟ้ามากขึ้นต้นทุนการผลิตจะลดลง อย่างรถบัสคันแรกที่ผลิตออกมาราคาครึ่งหนึ่งต้องจ่ายให้กับตัวแบตเตอรี่ ซึ่งถ้ามีคนใช้แบตนี้มากขึ้นราคาก็จะถูกลง  

ด้วยความที่แบตราคาแพงยังไม่คุ้มพอสำหรับรถโดยสารส่วนบุคคล แต่จะเหมาะสมกับผู้ประกอบการรถโดยสารมากกว่า เพราะในภาวะที่มีผู้โดยสารมากและเหมาะกับการลดพลังงาน ถ้ามองการลงทุนสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมในจีน รัฐบาลมีการช่วยเหลือ เพราะเขามองว่าในอนาคตรถไฟฟ้ามีความจำเป็น ซึ่งในไทยเรายังไปไม่ถึงขั้นนั้น  “ถ้ามองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เราเป็นประเทศแรกที่ผลิตรถบัสไฟฟ้าได้ แม้อาจจะตามจีนหรือญี่ปุ่น ซึ่งตัวโครงสร้างของรถและแผงวงจรต่าง ๆ คนไทยเป็นคนทำเองทั้งหมด อย่างมาเลเซียพยายามทดลองทำแต่ไม่ประสบความสำเร็จ สำหรับอนาคตตอนนี้รถบัสไฟฟ้าจะเน้นการวิ่งระหว่างเมืองต่อเมือง อนาคตภาครัฐต้องมีการจูงใจให้ผู้ประกอบการอยากลงทุน และหลังจากนั้นการแข่งขันต่าง ๆ จะตามมาเอง ถ้าทำแค่วิ่งในกรุงเทพฯ ไม่น่าจะประสบความสำเร็จเพราะว่ามีผู้ประกอบการไม่กี่รายที่วิ่งได้ แต่ถ้ามองการวิ่งระหว่างเมืองจะดีกว่า และเป็นการเพิ่มอาชีพในการทำสถานีชาร์จตามท้องที่ต่าง ๆ ถ้าภาครัฐอยากแข่งขันกับต่างประเทศ การผลิตเครื่องยนต์เราไม่สามารถตามเขาทัน แต่ถ้ามองเรื่องการผลิตมอเตอร์สำหรับรถไฟฟ้าหรือตัวถังรถเราสามารถสู้ได้ และพัฒนาในการวิจัยต่อไปได้” ตัวแทนทีมวิจัยทิ้งท้าย  

ด้าน นำชัย หล่อวัฒนตระกูล ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) กล่าวว่า ด้วยหน่วยงานครบรอบ 54 ปี และกำลังก้าวสู่ปีที่ 55 ปัจจุบันน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยียานยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าขับเคลื่อนจึงเป็นอีกส่วนหนึ่งที่นำมาทดแทนให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ดังนั้นกองทุนวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จึงให้ทุนสนับสนุนแก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในการดำเนินการวิจัย โครงการสาธิตรถโดยสารไร้มลพิษ ซึ่งผลสำเร็จที่ได้จะนำรถบัสที่ได้จากการวิจัยมาใช้รับส่งพนักงานภายในองค์กร  

บนรถบัสมีระบบไวไฟในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และมีระบบจีพีอาร์เอส ซึ่งผู้โดยสารสามารถตรวจสอบการเดินทางของรถไฟฟ้าได้โดยผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือ ทำให้ผู้โดยสารสามารถวางแผนการเดินทางเพื่อไปถึงจุดนัดหมายได้ทันเวลาที่รถมา  

รถบัสไฟฟ้า ถือเป็นอีกจุดเริ่มต้นในการสร้างระบบขนส่งมวลชนที่ไร้มลพิษ และลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงที่คนไทยต้องหันกลับมามองการพัฒนาของคนไทยด้วยกัน. ข้อมูลเทคนิครถบัสไฟฟ้า ความยาว 12,000 มิลลิเมตร กว้าง 2,550 มิลลิเมตร สูง 2,960 มิลลิเมตร ระยะห่างช่วงล้อ 6,500 มิลลิเมตร ระยะยื่นหน้า 2,800 มิลลิเมตร ระยะยื่นท้าย 2,700 มิลลิเมตร ระยะสูงจากพื้น 322.5 มิลลิเมตร น้ำหนักรวม 18,000 กิโลกรัม ที่นั่ง 43 ที่นั่ง พื้นที่สำหรับวีลแชร์ 1 คัน เร็วสูงสุด 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะวิ่งได้ 100 กิโลเมตร มุมไต่ทางชัน 28 องศา ศราวุธ ดีหมื่นไวย์“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/article/267372

วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เรียนเชิญศิษย์เก่าทุกท่าน ร่วมเข้างานคืนสู่เหย้า มทส

สวัสดีศิษย์เก่าทุกท่าน
ทางสมาคมเทคโนโลยีสุรนารี เรียนเชิญศิษย์เก่าทุกท่าน ร่วมเข้างานคืนสู่เหย้า มทส. ในวันที่ 25 ธันวาคม 2558 ณ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ติดตามรายละเอียดของงานได้เร็ว ๆ นี้

เพราะ"คิดถึง" จึงหวนคืนกาลเวลา
สมาคมเทคโนโลยีสุรนารี

วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ตราศิษย์เก่าวิศวกรรมไฟฟ้า มทส


ผลโหวตออกมาแล้วนะครับ

ตราศิษย์เก่าวิศวกรรมไฟฟ้า มทส
เจ้าของผลงานการออกแบบ
โอห์ม จิรัฐชัย  เจริญสว่าง  EE#15

วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558

โหวตแบบตราศิษย์เก่าวิศวกรรมไฟฟ้า


โหวตแบบตราศิษย์เก่าวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

โหวตได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 30 เมษายน 2558 ที่กลุ่มเฟสบุค EESUT-ALUMNI

สำหรับผลงานที่ได้การโหวตสูงสุดจะได้รับเงินรางวัลมูลค่า 1,000 บาท ในงานคืนสู่เหย้าวิศวกรรมไฟฟ้าครั้งที่ 9 นี้
แบบที่ 1 Tar EE#19

แบบที่ 2 Tar EE#19

แบบที่ 3 Tar EE#19

แบบที่ 4 Game EE#19

แบบที่ 5 Ohm EE#15

แบบที่ 6 Ohm EE#15

แบบที่ 7 Ohm EE#15

แบบที่ 8 Gun EE#19

วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558

ส่งผลงานการออกแบบ ตราศิษย์เก่าวิศวกรรมไฟฟ้า

ส่งผลงานการออกแบบ ตราศิษย์เก่าวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
วันนี้วันสุดท้ายนะครับ!!!
ส่งผลงานได้ที่ kw1987@hotmail.co.th


วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558

สงกรานต์ มทส

ใครได้มา สงกรานต์ มทส บ้างเอ่ย!!!
วันนี้ผมจะมาอัพเดตภาพบรรยากาศ เทศกาลสงกรานต์ มทส กันนะครับ ปีนี้จัดเป็นปีแรกเลยก็ว่าได้นะครับ ตั้งแต่ตั้งมหาลัยฯ มา กิจกรรมจัดกันทั้งหมดสามวันสามคืนเลยทีเดียว ตั้งแต่วันที่ 4-6 เมษายน 2558 สำหรับนักศึกษาสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าของเราก็ไม่พลาดที่จะเข้าร่วมงานในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมเดิน-วิ่งเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพฯ ที่สามารถคว้าเหรียญที่ระลึก 60 คนแรกที่เข้าเส้นชัยก่อน กิจกรรมแห่พระประจำมหาลัยฯ เทศกาลดนตรี และเทพีสงกรานต์ ที่สามารถคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่งมาครอง สำหรับใครที่พลาดในปีนี้ก็ไม่เป็นไรนะครับ ปีหน้าฟ้าใหม่เจอกันครับ

นักศึกษา บุคลากร บุคคลภายนอก เข้าร่วมงานเยอะเกินความคาดหมาย

ฝาแฝดเอ็กซ์-เอ ไฟฟ้ารุ่น 19 เข้าเส้นชัย 60 คนแรกนะครับกับระยะทาง 8 กม.รอบมหาลัย

ซุ้มไฟฟ้าสำหรับงานสงกรานต์ครับ

อัญเชิญพระประจำมหาลัย เพื่อสงนำพระในวันสงกรานต์

บรรยากาศการจัดงานสงกรานต์ ณ ลานศิลปวัฒนธรรม

เด็กไฟฟ้าเค้าจองหน้าเวทีกันนะครัช!!!

น้องบอลลูนสาวไฟฟ้าเบอร์ 9 คว้ารางวัลรองชนะเลิศเทพีสงกรานต์ประจำปี 2558

ถ่ายรูปหมู่กันซะหน่อย อิอิ

วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

ประกวดออกแบบตราศิษย์เก่าวิศวกรรมไฟฟ้า

ขอเชิญชวนออกแบบตราศิษย์เก่าวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 
EESUT-ALUMNI
ภายใต้แนวคิด รักและศรัทธาใน EE
สามารถส่งผลงานได้ที่ kw1987@hotmail.co.th พร้อมแนบชื่อที่อยู่เจ้าของผลงาน
ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 19 เมษายน 2558 นี้นะครับ
ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจะได้รับรางวัล 1,000 บาท ในงานคืนสู่เหย้าวิศวกรรมไฟฟ้าครั้งที่ 9

วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

รางวัลกองเชียร์เฮฮาอีกแล้วครับท่าน


ผ่านไปแล้วครับสำหรับงานกรีฑาสัมพันธ์ มทส ประจำปีการศึกษา 2557
สำหรับน้องๆสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าของเราก็เข้าร่วมงานกรีฑาครั้งนี้เป็นอย่างดี 
และยังเป็นส่วนร่วมในส่วนต่างอีกด้วย
ไม่ว่าจะเป็น ลีดมือ , คฑากร , คณะทำงาน ฯลฯ
และที่พลาดไม่ได้เลยคือ รางวัลชนะเลิศกองเชียร์เฮฮา ครับ ( 2 ปีซ้อน )
เห็นมั้ยครับนอกจากเด็กไฟฟ้าจะเรียนเก่งแล้ว กิจกรรมก็ไม่ด้อยเหมือนกัน!!!



วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

เราจะกลับมาพบกันอีกครั้ง

ใกล้แล้วนะครับ สำหรับงานคืนสู้เหย้าเราชาววิศวกรรมไฟฟ้า มทส ครั้งที่ 9
รายละเอียดๆต่างๆแอดมิน จะกลับมาแจ้งอีกครั้งนะครับ
แล้วเจอกันนะครับ

สวัสดีครับ

สวัสดีพี่ๆ เพื่อนๆ และน้องๆ ศิษย์วิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีทุกคนนะครับ